วันพฤหัสบดีที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2553

เรืออากาศโทชาญฤทธิ์ วงษ์ประเสริฐ อดีตเลขาธิการสมาคมวอลเล่ย์บอลแห่งประเทศไทย

เรืออากาศโทชาญฤทธิ์  วงษ์ประเสริฐ
เกิดวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ.2486 ที่ อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี


ประวัติการทำงาน
  • หัวหน้างานบริการการศึกษา กองกิจการนักศึกษา
  • ผู้อำนวยการวิทยาเขต รามคำแหง 2
  • นักกิจการนักศึกษา เชี่ยวชาญ 9
  • ปัจจุบัน ดำรงตำแหน่งผู้ทรงคุณวุฒิ มหาวิทยาลัยรามคำแหง (ปัจจุบันหมายถึง พ.ศ.2547-ผู้จัดทำ)
ประวัติการศึกษา
  • จบชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 จากโรงเรียนเทศบาล 1 อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
  • จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากโรงเรียนรัตนราษฎร์บำรุง อ.บ้านโป่ง จ.ราชบุรี
  • จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 จากโรงเรียนวัดพระศรีมหาธาตุ อ.บางเขน กรุงเทพฯ
  • จบประกาศนียบัตรวิชาการศึกษาชั้นสูง ที่วิทยาลัยครูบ้านสมเด็จเจ้าพระยา โดยได้รับทุนตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-4
  • จบการศึกษาบัณฑิตจาก มศว.ประสานมิตร
ประวัติกีฬา
  • นำทีมวอลเล่ย์บอลของ มศว.ประสานมิตร ชนะเลิศการแข่งขันประเภทอุดมศึกษา 4 ปี ซ้อน
  • ร่วมทีมเยาวชนไทย ร่วมการแข่งขันกีฬามหาวิทยาลัยโลก ครั้งที่ 5 ที่ประเทศญี่ปุ่น
  • ร่วมทีมทหารอากาศ ชนะเลิศการแข่งขันประชาชน ก ชิงชนะเลิศแห่งประเทศไทย ติดต่อกันหลายปี
  • ร่วมทีมวอลเล่ย์บอลทีมชาติไทย 14 ปี ในกีฬาเซียพเกมส์ ครั้งที่  4 จนถึงซีเกมส์ ครั้งที่ 9
  • อดีตเลขาธิการสมาคมวอลเล่ย์บอลแห่งประเทศไทย
  • อดีตกรรมการบริหารสหพันธ์วอลเล่ย์บอลนานาชาติ (FIVB)
  • อดีตกรรมการบริหารสหพันธ์วอลเล่ย์บอลแห่งเอเชีย (AVC)
เกียรติคุณที่ได้รับ
  • ปี พ.ศ.2538 รับโล่พระราชทานจากสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ในฐานะผู้บำเพ็ญคุณประโยชน์ให้แก่เยาวชนของชาติ จากการพิจารณาของสำนักงานเยาวชนแห่งชาติ
  • ปี พ.ศ.2540ได้รับรางวัล "เพชรกรุงเทพ" ในฐานะบุคคลดีเด่น สาขากีฬาคนแรกจากการพิจารณาของกรุงเทพมหานคร
  • ปี พ.ศ.2541 ได้รับโล่ผู้สร้างชื่อเสียงด้านกีฬาให้แก่ประเทศไทย จากการพิจารณาของสมาคมผู้สื่อข่าวกีฬาแห่งประเทศไทย
  • ปี พ.ศ.2544 ได้รับโล่ "เชิดชูเกียรติบุคลากรทางการกีฬา" จากการพิจารณาของการกีฬาแห่งประเทศไทย
  • ปี พ.ศ.2545 ได้รับรางวัล "Grand Spirit Award" ในฐานะนักกีฬาผู้ทรงคุณค่าแห่งการกีฬาแห่งชาติ
ข้อมูลนี้จัดทำขึ้นจากหนังสือคู่มือผู้ชมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 34 ราชบุรีเกมส์ (18-28 ธ.ค.2547) และเพิ่มเติมจากการสืบค้นจากอินเตอร์เน็ต ดังนั้นข้อมูลอาจมีใหม่กว่านี้ ท่านผู้อ่านต้องศึกษาเพิ่มเติมเอาเอง
อ่านต่อ >>

นุชจรินทร์ สุขคงดำเนิน นักเทควันโดทีมชาติไทย

นุชจรินทร์ สุขคงดำเนิน
เกิดวันที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2521 ณ อ.ดำเนินสะดวก จ.ราชบุรี  ชื่อเล่น อี๊ด

ประวัติการศึกษา
  • จบประถมศึกษา จากโรงเรียนวัดสนามไชย
  • จบมัธยมศึกษาตอนต้น จากโรงเรียนสายธรรมจันทร์
  • จบชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ จากโรงเรียนพาณิชยการ กรุงเทพมหานคร
  • จบปริญญาตรี คณะมนุษยศาสตร์ สาขาปรัชญาและศาสนา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ประวัติการแข่งขันกีฬาเทควันโด
  • ชิงแชมป์เยาวชนนานาชาติ ประเทศมาเลเซีย พ.ศ.2538
  • เหรียญทองซีเกมส์ ครั้งที่ 18 ณ จ.เชียงใหม่ ประเทศไทย พ.ศ.2538
  • เหรียญทอง ชิงแชมป์เยาวชนนานาชาติ ประเทศเวียดนาม พ.ศ.2539
  • เหรียญทอง ชิงแชมป์เอเชีย ครั้งที่ 12 ณ กรุงเมลเปิล ประเทศออสเตรเลีย พ.ศ.2539
  • เหรียญทองแดง ซีเกมส์ ครั้งที่ 19 ณ ประเทศอินโดนีเซีย พ.ศ.2540
  • เข้าร่วมการแข่งขันชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 13 ณ ประเทศฮ่องกง พ.ศ.2540
  • เหรียญทองแดง ชิงแชมป์เอเชีย ครั้งที่ 13  พ.ศ.2541
  • เหรียญเงินเอเชี่ยนเกมส์ ครั้งที่ 13 พ.ศ.2541
  • เหรียญเงิน ซีเกมส์ ครั้งที่ 20 ณ ประเทศบรูไน พ.ศ.2541
  • เหรียญทอง ยูเอสโอเพ่น ณ รัฐฮาวาย พ.ศ.2543
  • เหรียญเงิน ซีเกมส์ ครั้งที่ 21 พ.ศ.2544
  • เหรียญทอง ชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 16 พ.ศ.2546
  • เหรียญทองแดง ซีเกมส์ ครั้งที่ 22 พ.ศ.2546
  • เข้าร่วมการแข่งขันโอลิมปิค ณ กรุงเอเธน พ.ศ.2547

ที่มาข้อมูล
-หนังสือคู่มือชมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติครั้งที่ 34 ราชบุรีเกมส์ (18-28 ธันวาคม 2547)
ที่มาของภาพ
-http://www.broadcastthai.com/news_detail.php?idnews=293&page=42&search=&PHPSESSID=c6fb29afd8
อ่านต่อ >>

มนัส บุญจำนงค์ นักมวยทีมชาติไทย

มนัส  บุญจำนงค์
มนัส บุญจำนงค์ เป็นนักชกมวยสากลสมัครเล่นเจ้าของเหรียญทองโอลิมปิก จากการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่ประเทศกรีซ นับเป็นชาวไทยคนที่ 5 ที่ได้รับเหรียญทองโอลิมปิก และเป็นนักมวยสากลสมัครเล่นคนที่ 3 ต่อจากสมรักษ์ คำสิงห์ และวิจารณ์ พลฤทธิ์

มนัสได้เหรียญทองจากกีฬาโอลิมปิก 1 เหรียญทอง 1 เหรียญเงิน เอเชียนเกมส์ 1 เหรียญทอง และซีเกมส์ 2 เหรียญทอง และหนึ่งเหรียญทองแดงจากการแข่งขัน มวยสากลสมัครเล่นชิงแชมป์โลกที่จัดขึ้นที่กรุงเทพในปี 2546

ประวัติ
มนัส บุญจำนงค์ มีชื่อเล่นว่า "เติ้ล" เกิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2523 ที่จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรของนายมโนและนางมาลี บุญจำนงค์ มีน้องชายอีก 2 คนคือ มานนท์ (นน บุญจำนงค์) และ พันธนินทร์ ทั้งสามพี่น้องหัดชกมวยมาตั้งแต่สมัยเด็ก

ภูมิลำเนา  191 ซอย 2 ต.พงสวาย อ.เมือง จ.ราชบุรี

ครอบครัว
มีภรรยาคือ นางพจนีย์ บุญจำนงค์ (เกตุสวัสดิ์) และมีบุตรด้วยกัน 3 คน ภายหลังจากได้เหรียญทองโอลิมปิกปี 2004 มนัสได้มีปัญหากับภรรยา และแยกทางกันเมื่อเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2549 หลังจากแยกทางกับนางพจนีย์แล้ว ในวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2551 นางพจนีย์ก็ได้ให้กำเนิดบุตรชายเพิ่มอีก 1 คน ซึ่งมนัส ยอมรับกับผู้สื่อข่าวว่า บุตรที่เกิดมาภายหลังนี้เป็นบุตรที่เกิดจากตนเช่นกัน จากการที่มักมีปัญหาเรื่องผู้หญิงและครอบครัวแบบนี้ซึ่งส่งผลกระทบถึงการชกมวย จึงทำให้สื่อมวลชนให้ฉายามนัสว่า "เพลย์บอยกลับใจ" ในวันที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551 ทางกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาได้มีการอนุมัติให้มนัสเข้าบรรจุเป็นข้าราชการตำรวจเนื่องจากสร้างชื่อเสียงให้แก่ประเทศชาติ โดยจะให้ได้รับยศตามวุฒิการศึกษา

โอลิมปิก 2004
มนัสลงแข่งขันในรุ่นไลท์เวลเตอร์เวท (64 กิโลกรัม) ในการแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน 2004 ที่เมืองเอเธนส์ ประเทศกรีซ เส้นทางสู่เหรียญทองของมนัสคือ
  • รอบ 8 คนสุดท้าย: 22 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ชนะวิลลี เบรน จากฝรั่งเศส 20-8 หมัด
  • รอบรองชนะเลิศ: 27 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ชนะไอโอนัท จอร์จี นักชกโรมาเนีย
  • รอบชิงชนะเลิศ: 28 สิงหาคม พ.ศ. 2547 ชนะยูได เซเดอโน่ จอห์นสัน จากคิวบา 17-11 หมัดฃ
มนัสเป็นคนไทยคนที่สามที่ได้เหรียญทองจากการแข่งขันโอลิมปิกครั้งนี้ โดยก่อนหน้า อุดมพร พลศักดิ์ และ ปวีณา ทองสุก นักยกน้ำหนักหญิงทีมชาติไทยได้คว้าเหรียญทองไปแล้ว

เอเชี่ยนเกมส์ 2006
หลังจากมนัสได้เหรียญทองโอลิมปิกเกมส์ ก็ประสบปัญหาครอบครัวและติดการพนัน ทำให้ไม่เข้าซ้อมชกมวยบ่อยครั้ง ก่อนจะกลับตัวได้และลงแข่งขันเอเชียนเกมส์ 2006 ที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ เมื่อเดือนธันวาคม พ.ศ. 2549 โดยเอาชนะชิน เมียง ฮุน จากเกาหลีใต้ 22-11 หมัด ในรอบชิงชนะเลิศ ซึ่งก่อนหน้านี้ทางสมาคมมวยสากลสมัครเล่นได้ส่งมนัสเดินทางไปเก็บตัวที่ประเทศคิวบาเพียงคนเดียวนานถึง 3 เดือน กับโค้ช ฮวน ฟอนตาเนียล ซึ่งก็ทำให้มนัสได้เป็นนักมวยสากลสมัครเล่นไทยเพียงคนเดียวที่ได้เหรียญทองในการแข่งขันครั้งนี้

โอลิมปิก 2008
มนัสกลับมาแข่งขันโอลิมปิกเป็นครั้งที่สอง ในรุ่นเดิม โดยเส้นทางการชกเป็นดังนี้
  • รอบ 16 คนสุดท้าย (14 สิงหาคม พ.ศ. 2551): ชนะ มาซาซึกุ คาวาชิ ( ญี่ปุ่น ) 8-1
  • รอบ 8 คนสุดท้าย (17 สิงหาคม พ.ศ. 2551): ชนะ เซริค ซาพิเยฟ ( คาซัคสถาน ) 7-5
  • รอบรองชนะเลิศ (22 สิงหาคม พ.ศ. 2551): ชนะ โรเนียล อิกเลเซียส โซโตลองโก ( คิวบา ) 10-5
  • อบชิงชนะเลิศ (23 สิงหาคม พ.ศ. 2551): แพ้ เฟลิกซ์ ดิแอซ ( สาธารณรัฐโดมินิกัน) 4-12
มนัสเป็นนักกีฬาไทยคนแรก ที่สามารถคว้าเหรียญจากการแข่งขันโอลิมปิกสองสมัยติดต่อกัน

ผลงาน
  • เหรียญทองคิงส์คัพ 2001 ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • เหรียญทองแดงเวิลด์คัพ ณ ประเทศคาซัคสถาน
  • เหรียญทองคิงส์คัพ 2003 ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • เหรียญทองซีเกมส์ ครั้งที่ 22 ณ นครโฮจิมินท์  ประเทศเวียดนาม
  • เหรียญทองแดงเวิลด์คัพ ครั้งที่ 12 ปี 2003 ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • เหรียญเงินไชนาโอเพน  2004 ณ ประเทศจีน
  • เหรียญทองคิงส์คัพ 2004  ครั้งที่ 26 ณ กรุงเทพฯ ประเทศไทย
  • เหรียญทองโอลิมปิก 2004 ณ กรุงเอเธนส์ ประเทศกรีซ
  • เหรียญทองเอเชียนเกมส์ 2006 ณ ประเทศกาตาร์
  • เหรียญทองซีเกมส์ 2007 ณ ประเทศไทย
  • เหรียญเงินโอลิมปิก 2008 ณ ประเทศจีน



ที่มาข้อมูล
-วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี.มนัส  บุญจำนงค์. (สืบค้นเมื่อ 30 ก.ย.2553)
-หนังสือคู่มือชมการแข่งขันกีฬาแห่งชาติ ครั้งที่ 34 ราชบุรีเกมส์ (18-28 ธ.ค.2547)

ที่มาของภาพ
-http://www.sport-idol.com/profiles/Idol/83.html
-http://blog.eduzones.com/jipatar/8564
อ่านต่อ >>

วันพุธที่ 29 กันยายน พ.ศ. 2553

สืบศักดิ์ ผันสืบ นักตะกร้อทีมชาติไทย

ร้อยตำรวจตรีสืบศักดิ์ ผันสืบ
ชื่อเล่น "โจ้" มีฉายาว่า "โจ้ หลังเท้า"
เป็นนักกีฬาตะกร้อทีมชาติไทย ตำแหน่งแบ็ก

เกิดเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2520 ที่จังหวัดราชบุรี
เป็นบุตรของ นายสมจิต (ข้าราชการบำนาญ) กับ นางขนิษฐา ผันสืบ (หัวหน้าผู้ดูแลเด็ก ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ตำบลคุ้งพะยอม)

จบการศึกษาชั้นประถมศึกษา จากโรงเรียนสารสิทธิ์พิทยาลัย อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวส.) จากโรงเรียนพณิชยการกรุงเทพ จบปริญญาตรี จากวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี ปัจจุบันกำลังระดับปริญญาโท อยู่ที่วิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี

ผลงานด้านกีฬา
ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมทีมชาติไทยเป็นครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2539 ในการแข่งขันตะกร้อ ชิงถ้วยพระราชทานคิงส์คัพ ครั้งที่ 12 ที่อำเภอหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา

เคยร่วมการแข่งขันกีฬาซีเกมส์มาแล้ว 5 ครั้ง มีผลงานดังนี้
  • 2 เหรียญทอง ซีเกมส์ 1997 (ครั้งที่ 19) ที่จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย
  • 2 เหรียญทอง ซีเกมส์ 1999 (ครั้งที่ 20) ที่บันดาร์เสรีเบกาวัน ประเทศบรูไน
  • 2 เหรียญทอง ซีเกมส์ 2001 (ครั้งที่ 21) ที่กัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย
  • 2 เหรียญทอง ซีเกมส์ 2003 (ครั้งที่ 22) ที่ฮานอย และ โฮจิมินห์ซิตี ประเทศเวียดนาม
  • 1 เหรียญเงิน ซีเกมส์ 2005 (ครั้งที่ 23) ที่มะนิลา ประเทศฟิลิปปินส์
และร่วมการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์มา 4 ครั้ง มีผลงานดังนี้
  • 2 เหรียญทอง เอเชียนเกมส์ 1998 (ครั้งที่ 13) ที่กรุงเทพมหานคร ประเทศไทย
  • 2 เหรียญทอง เอเชียนเกมส์ 2002 (ครั้งที่ 14) ที่ปูซาน ประเทศเกาหลีใต้
  • 2 เหรียญทอง เอเชียนเกมส์ 2006 (ครั้งที่ 15) ที่โดฮา ประเทศกาตาร์
  • 1 เหรียญทอง เอเชียนเกมส์ 2010 (ครั้งที่ 16) ที่เมืองกว่างโจ มณฑลกวางตุ้ง สาธารณรัฐประชาชนจีน
รับราชการตำรวจ
ในวันที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2550 ได้รับการประดับยศเป็น ร้อยตำรวจตรี (ร.ต.ต.) สังกัดกองกำกับการตำรวจปฏิบัติการพิเศษ (บช.น.) จาก พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ พร้อมกับเพื่อน ๆ นักกีฬาทีมชาติอีกหลายคน

ผลงานการแสดง
  • เกิดมาลุย
  • หนูกันภัย ศึกมหายันต์ ยิงกันสนั่นจอ รับบทเป็น อาจารย์หนู กันภัย ในวัยผู้ใหญ่






















ที่มาข้อมูล
วิกีพีเดีย สารานุกรมเสรี. สืบศักดิ์ ผันสืบ (สืบค้นเมื่อ 29 ก.ย.2553)

ที่ภาพ
อ่านต่อ >>

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

การแข่งขันวอลเล่ย์บอลเยาวชนชายชิงชนะเลิศแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครัง้ที่ 16 และชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 15

ในสมัยนายสุเทพ โกมลภมร เป็นผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี  จังหวัดราชบุรีได้รับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาวอลเล่ย์บอลรายการสำคัญ 2 รายการ คือ
  1. การแข่งขันวอลเล่ย์บอลเยาวชนชายชิงชนะเลิศแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 16 ระหว่างวันที่ 22-28 กันยายน 2553 ณ โรงยิมเนเซี่ยมราชบุรี 4,000 ที่นั่ง มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 6 ทีม ประกอบด้วย ประเทศไทย มาเลเซีย เวียดนาม พม่า ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย
  2. การแข่งขันวอลเล่ย์บอลเยาวชนชายชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 15 ระหว่างวันที่ 29 กันยายน-11 ตุลาคม 2553 ณ โรงยิมเนเซี่ยมราชบุรี 4,000 ที่นั่ง มีทีมเข้าร่วมการแข่งขัน 4 ทีม ได้แก่ ประเทศไทย กาตาร์ มัลดีฟ และนิวซีแลนด์
ผู้ร่วมจัดการแข่งขัน
  • จังหวัดราชบุรี
  • สมาคมวอลเล่ย์บอลแห่งประเทศไทย
  • การกีฬาแห่งประเทศไทย
  • สมาคมกีฬาจังหวัดราชบุรี
  • RCFP
  • ชมรมวอลเล่ย์บอลจังหวัดราชบุรี
  • ผู้สนับสนุน ThaiBev และ บริษัทไทยน้ำทิพย์ จำกัด
คณะกรรมการจัดการแข่งขันประกอบด้วยฝ่ายต่างๆ ดังนี้
  1. ที่ปรึกษา ส.ส.ปัจจุบัน และอดีต ส.ส. จ.ราชบุรี, เจ้ากรมการทหารช่าง, นายกสมาคมวอลเล่ย์บอลแห่งประเทศไทย
  2. คณะกรรมการอำนวยการ มีผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธาน และผู้อำนวยการศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทย จ.ราชบุรี เป็นกรรมการและเลขานุการ
  3. คณะกรรมการฝ่ายเลขานุการ มีผู้อำนวยการศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทย จ.ราชบุรี เป็นประธาน
  4. คณะกรรมการฝ่ายจัดการแข่งขัน มีรองผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เป็นประธาน และผู้อำนวยการศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทย จ.ราชบุรี เป็นกรรมการและเลขานุการ
  5. คณะกรรมการฝ่ายเทคนิคการแข่งขัน มีประธานชมรมวอลเล่ย์บอล จ.ราชบุรี เป็นประธาน
  6. คณะกรรมการฝ่ายสถานที่ มีนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี เป็นประธาน
  7. คณะกรรมการฝ่ายพิธีเปิดการแข่งขัน มีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 เป็นประธาน
  8. คณะกรรมการฝ่ายขนส่ง มีผู้อำนวยการสำนักงานขนส่ง จ.ราชบุรี เป็นประธาน
  9. คณะกรรมการฝ่ายงบประมาณและการเงิน (ใช้ตัวบุคคลเป็นกรรมการ)
  10. คณะกรรมการฝ่ายการแพทย์และพยาบาล มีนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดราชบุรี เป็นประธาน
  11. คณะกรรมการฝ่ายรักษาความปลอดภัยและจราจร มีผู้บังคับการตำรวจภูธร จ.ราชบุรี เป็นประธาน
  12. คณะกรรมการฝ่ายกองเชียร์ มีผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 1 เป็นประธาน 
  13. คณะกรรมการฝ่ายสนามฝึกซ้อม มีผู้อำนวยการศูนย์การกีฬาแห่งประเทศไทย จ.ราชบุรี เป็นประธาน
  14. คณะกรรมการฝ่ายเลี้ยงรับรอง มี ผู้อำนวยการโรงเรียนราชบุรีบริหารธุรกิจ เป็นประธาน
  15. คณะกรรมการฝ่ายล่าม (ใช้ตัวบุคคลเป็นกรรมการ)
งบประมาณค่าใช้จ่าย
การแข่งขันวอลเล่ย์บอลเยาวชนชายชิงชนะเลิศแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 16
  • พิธีเปิด  จำนวน 112,050 บาท
  • หน่วยแพทย์และพยาบาล จำนวน 5,600 บาท
  • หน่วยรักษาความปลอดภัย  จำนวน 3,500 บาท
  • ค่าจัดงานเลี้ยงต้อนรับ จำนวน 50,000 บาท
  • ค่าพาหนะในการแข่งขัน  จำนวน 444,000 บาท
  • รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 615,150 บาท
การแข่งขันวอลเล่ย์บอลเยาวชนชายชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 15
  • พิธีเปิด จำนวน 79,100 บาท
  • หน่วยแพทย์และพยาบาล จำนวน 10,400 บาท
  • หน่วยรักษาความปลอดภัย 6,500 บาท
  • ค่าจัดงานเลี้ยงต้อนรับ 50,000 บาท
  • พาหนะในการแข่งขัน จำนวน 433,000 บาท
  • รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 579,000 บาท
ที่มา : เอกสารประกอบการประชุม การเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันวอลเล่ย์บอลเยาวชนชายชิงชนะเลิศแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้งที่ 16 และการแข่งขันวอลเล่ย์บอลเยาวชนชายชิงชนะเลิศแห่งเอเชีย ครั้งที่ 15 เมื่อวันจันทร์ที่ 13 ก.ย.2553 ณ ห้องประชุมเล็กชั้น 3 องค์การบริหารส่วนจังหวัดราชบุรี
อ่านต่อ >>