วันจันทร์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

บุคคลที่ได้รับเกียรติเชิดชูใน "พญาผึ้งเกมส์"

ในระหว่างวันที่ 6-10 พฤษภาคม พ.ศ.2554 จังหวัดราชบุรี ไดรับเกียรติเป็นเจ้าภาพจัด "การแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 ประจำปี 2554 "พญาผึ้งเกมส์"" ขึ้น ณ สนามกีฬาภายในจังหวัดราชบุรี (ดูรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดการแข่งขัน)  และได้กำหนดให้มีพิธีเปิดการแข่งขันฯ ในวันศุกร์ที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ.2554  ระหว่างเวลา 16:00 - 18:30 น.ณ สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี โดยในพิธีเปิดฯ นี้มีบุคคลชาวราชบุรีที่ได้รับเกียรติเชิดชู จำนวน 5 ท่าน  เห็นสมควรที่นำมาบันทึกไว้ในบล็อกนี้เพื่อเผยแพร่ชื่อเสียงให้ทราบต่อไป ดังนี้

นายกิตติคม เทิดสกุล (สุข)
นักกีฬาวิ่งคบเพลิง
นักกีฬาวิ่งคบเพลิง
ชื่อ-สกุล นายกิตติคม  เทิดสกุลธรรม (สุข) เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง
วัน เดือน ปีเกิด เกิดวันที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ.2512 ที่ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
การศึกษา
  • จบการศึกษาระดับประถมศึกษาโรงเรียนบ้านท่ามะขาม ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
  • จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายจากศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
ความสามารถทางการกีฬา
  • เป็นตัวแทนนักกีฬาตะกร้อยุวชนของ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
  • เป็นตัวแทนนักกีฬาพื้นบ้านเยาวชนของ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
  • เป็นตัวแทนนักกีฬาชาวไทยภูเขา การแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน (ขว้างมีดสั้น) ของ จ.ราชบุรี
ผลงานที่ได้รับความสำเร็จ
  • ได้รับเหรียญทอง จากการแข่งขันกีฬาพื้นบ้านเยาวชน (วิ่งกระสอบ) ของ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
  • รองชนะเลิศการแข่งขันกีฬาตะกร้อยุวชน ของ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
  • ได้รับเหรียญเงิน การแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขา ครั้งที่ 22 จ.เชียงใหม่ จากการแข่งขันกีฬาพื้นบ้าน (ขว้างมีดสั้น)
อาชีพการงาน ปัจจุบันเป็นพนักงานขับเครื่องจักรกลขนาดเบา (รถยนต์บรรทุกน้ำ) ของ อบต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี

นายสามารถ  พอชู
นักกีฬาวิ่งคบเพลิง

นักกีฬาวิ่งคบเพลิง
ชื่อ-สกุล นายสามารถ  พอชู เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง
วัน เดือน ปีเกิด 2 มกราคม พ.ศ.2500 อายุ 54 ปี
ที่อยู่ เลขที่ 41 หมู่ที่ 1 ต.บ้านบึง อ.บ้านคา จ.ราชบุรี
การศึกษา ประถมศึกษาปีที่ 4
อาชีพ เกษตรกรรม
ผลงานที่ได้รับรางวัล
  • รองชนะเลิศการแข่งขันวิ่งขาหยั่งทีมชาย การแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขา ครั้งที่ 21 "เมืองน่านเกมส์"
  • รองชนะเลิศการแข่งขันวิ่งขาหยั่ง ประเภทชายเดี่ยว ประเภททีมผสม การแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขา ครั้งที่ 22 "นครเชียงใหม่  ไทยภูเขาเกมส์" จ.เชียงใหม่ พ.ศ.2553

น.ส.อมรรัตน์  จั๊บโปรย
นักกีฬาวิ่งคบเพลิง
นักกีฬาวิ่งคบเพลิง
ชื่อ-สกุล  น.ส.อมรรัตน์  จั๊บโปรย เป็นชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง
วัน เดือน ปีเกิด 22 สิงหาคม พ.ศ.2532 ที่ ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
การศึกษา
  • จบชั้นประถมศึกษาจากโรงเรียนชุมชนบ้านบ่อ ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
  • จบชั้นมัธยมศึกษาจากโรงเรียนสวนผึ้งวิทยา ต.สวนผึ้ง อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
  • ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ระดับปริญญาตรี คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต กรุงเทพฯ
ผลงานที่ได้รับรางวัล
  • ชนะเลิศการแข่งขันฟุตบอลหญิง รุ่น 15 ปี จ.ราชบุรี ปี พ.ศ.2546
  • ชนะเลิศการแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขา ประเภทกลิ้งครก ครั้งที่ 20 "ร่องกล้าเกมส์" จ.พิษณุโลก ปี พ.ศ.2550
  • ชนะเลิศการแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขา ประเภทกลิ้งครก ครั้งที่ 21 "เมืองน่านเกมส์" จ.น่าน ปี พ.ศ.2551
  • รองชนะเลิศการแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขา ประเภทกลิ้งครก ครั้งที่ 22 "นครเชียงใหม่ ไทยภูเขาเกมส์" จ.เชียงใหม่ ปี พ.ศ.2553

นายนิคม ศรรีคำ
นักกีฬาอาวุโส

นักกีฬาอาวุโส
ชื่อ-สกุล นายนิคม  ศรรีคำ  เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง
วัน เดือน ปีเกิด 1 มกราคม พ.ศ.2489 ปัจจุบันอายุ 65 ปี
การศึกษา จบการศึกษาในระดับประถมศึกษา
ความสามารถทางการกีฬา
  • เป็นตัวแทนนักฟุตบอล ของ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
  • เป็นตัวแทนนักกีฬาเปตอง ของ อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
  • เป็นตัวแทนนักกีฬาพื้นบ้าน ของ ต.ตะนาวศรี อ.สวนผึ้ง จ.ราชบุรี
  • เป็นผู้สนับสนุนปละส่งเสริมการแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขา ตั้งแต่ครั้งที่ 19 จ.กำแพงเพชร "เพชรชาวดอยเกมส์" เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน
อาชีพการงาน ปัจจุบันประกอบอาชีพ นักการเมืองท้องถิ่น


นายพรรณชัย เจนนพกาญจน์
ผู้แทนผู้ตัดสินกีฬา

ผู้แทนผู้ตัดสินกีฬา
ชื่อ-สกุล นายพรรณชัย  เจนนพกาญจน์
วัน เดือน ปีเกิด 19 ธันวาคม พ.ศ.2493 ปัจจุบันอายุ  61 ปี
ประวัติการศึกษา
  • ปริญญาตรี วิทยาลัยวิชาการศึกษาพลศึกษา
  • ปริญญาโท การศึกษาผู้ใหญ่และการศึกษาต่อเนื่อง มหาวิทยาลัยศิลปากร
ประวัติการทำงาน
  • ศึกษานิเทศก์ กรมพลศึกษา กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา
  • อาจารย์ สถาบันการพลศึกษา วิทยาเขตสุพรรณบุรี
ประวัติด้านกีฬา
  • ผู้ตัดสินกีฬาเทเบิลเทนนิส
  • ผู้ตัดสินกีฬาบาสเกตบอล
  • ผู้ตัดสินกีฬาแฮนด์บอล
ปัจจุบัน รองนายกเทศมนตรี เทศบาลเมืองบ้านโป่ง จ.ราชบุรี


*****************************************************

อ่านเพิ่มเติม

ที่มาข้อมูล
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี. (2554). สูจิบัตรการแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขาครั้งที่ 23 ประจำปี 2554. ไม่ทราบที่พิมพ์ (ดูภาพหนังสือ)


อ่านต่อ >>

จังหวัดราชบุรีเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23

การแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 ประจำปี 2554 "พญาผึ้งเกมส์"
จังหวัดราชบุรีในสมัย นายสุเทพ โกมลภมร ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ได้รับความไว้วางใจจาก กรมพลศึกษา กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ให้เป็นเจ้าภาพจัด การแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 ประจำปี 2554  ขึ้นในระหว่างวันที่ 6-10 พฤษภาคม พ.ศ.2554 โดยใช้ชื่อเกมส์ว่า "พญาผึ้งเกมส์" และใช้สนามกีฬาต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดราชบุรีเป็นสนามแข่งขัน กระทำพิธีเปิดและปิดที่สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี 

ประวัติการแข่งขัน
การแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขานี้ เริ่มต้นมาจาก การแข่งขันกีฬาชาวดอย ซึ่งจัดต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ครั้งที่ 1-18 ดำเนินการโดยการกีฬาแห่งประเทศไทย  ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ.2545 จึงได้มีการโอนภารกิจการจัดการแข่งขันกีฬาชาวดอย ให้แก่ สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ (กรมพลศึกษาเดิม) ดำเนินในปี พ.ศ.2549 เป็นต้นมา และได้เปลี่ยนชื่อเกม เป็นการแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขา แห่งประเทศไทย โดยมีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้

  • กีฬาชาวดอย ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อ พ.ศ.2529
  • ...............ฯลฯ.......................... 
  • กีฬาชาวดอย ครั้งที่ 18 (ครั้งสุดท้ายก่อนเปลี่ยนชื่อเกมส์) จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงราย เมื่อ พ.ศ.2548
  • กีฬาชาวไทยภูเขา ครั้งที่ 19 จัดขึ้นที่จังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ.2549 (สำนักการกีฬาและนันทนาการ เป็นผู้รับผิดชอบ ต่อจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย)
  • ................ฯลฯ.......................
  • กีฬาชาวไทยภูเขา ครั้งที่ 22 "นครเชียงใหม่ ไทยภูเขาเกมส์"  จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2553 (ครั้งนี้ สำนักงานการกีฬาและนันทนาการ เปลี่ยนชื่อกลับเป็นชื่อเดิมคือ กรมพลศึกษา) 
  • กีฬาชาวไทยภูเขา ครั้งที่ 23  "พญาผึ้งเกมส์" จัดขึ้นที่จังหวัดราชบุรี ระหว่าง 6-10 พ.ค.2554
  • เจ้าภาพครั้งต่อไปคือ จังหวัดเลย 


วัตถุประสงค์การจัดการแข่งขัน
  1. เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนกลุ่มนี้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยสร้างสุขภาพพลานามัย ให้รู้จักการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี
  2. เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนกลุ่มนี้เข้าใจถึงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
  3. เพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างชนกลุ่มใหญ่ที่อยู่ในเมืองกับชนกลุ่มชาวไทยภูเขา และทำให้ชนกลุ่มนี้ รู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของประชากรในประเทศไทย
  4. เพื่อเป็นการสร้างความรัก ความสามัคคี การมีระเบียบวินัย ให้กับชาวไทยภูเขา
  5. เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนกลุ่มนี้ ซึ่งเป๋นประชากรกลุ่มใหญ่ที่อยู่ตามตะเข็บชายแดนของประเทศไทย ให้มีศักยภาพจะเป็นภูมิคุ้มกันให้กับประเทศชาติอีกทางหนึ่ง


ตราสัญลักษณ์การแข่งขัน

สัญลักษณ์การแข่งขัน
ความหมาย  โอ่งมังกรมาจากการที่จังหวัดราชบุรีเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงด้านอุตสาหกรรมผลิตเครื่องเคลือบดินเผาที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะโอ่งมังกร ซึ่งมีประวัติการผลิตที่ยาวนาน และเป็นที่รู้จักกันดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดราชบุรีในปัจจุบัน
คบเพลิง คือ ความรุ่งโรจน์ ความเจริญก้าวหน้า
เปลวไฟ คือ การเริ่มต้นการแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขา
ภูเขา คือ ความอุดมสมบูรณ์ของภูเขาธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอสวนผึ้ง
ดอกไม้ คือ ความสวยงามของจังหวัดราชบุรี ที่มีคำขวัญ "คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง"
โอ่ง คือ การประกอบอาชีพของชาวจังหวัดราชบุรี ทั้งเกษตรกรรม หัตถกรรม ที่แสดงถึงการเป็นนักต่อสู้มีความอดทน ไม่ย่อท้อ ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค เช่นเดียวกับนักกีฬาทุกคน ที่พร้อมใจกันสร้างพลังแห่งการแข่งขัน และรวมพลังเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาฯ  ในครั้งนี้
โอ่งและคบเพลิง คือ ความชื่นชมยินดีต้อนรับและความมีน้ำใจของนักกีฬาทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้

ความหมายของสี
สีน้ำเงิน คือ จุดรวมใจของชาวไทยภูเขา
สีแดง คือ พลังและความกล้าหาญ
สีเขียว คือ ความอุดมสมบูรณ์ของภูเขาธรรมชาติ
สีฟ้า คือ พลังของการสร้างสรรค์ในการแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขา
สีเหลือง คือ ความสนุกสนาน ร่าเริง มิตรภาพ และรอยยิ้ม
สีดำ คือ กลุ่มพลังนักกีฬาชาวไทยภูเขาทุกคน

สัญลักษณ์นำโชค-พญาผึ้ง


สัญญลักษณ์นำโชค - พญาผึ้ง
พญาผึ้ง เป็นตัวแทนของความขยัน การอยู่ร่วมกัน และการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
ความหมาย ประชาชนชาวไทยภูเขาจังหวัดราชบุรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นนักต่อสู้ชีวิต อดทน รักความสามัคคีในกลุ่มชาวไทยภูเขา และไม่ย่อท้อ ไม่ยอมแพ้ต่อความยากลำบากที่จะเกิดขึ้นในชีวิตของเขา


ชนิดกีฬาที่ทำการแข่งขัน (สนามแข่งขัน) ได้แก่ 
  1. เซปัคตะกร้อ (สนามวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี)
  2. ฟุตบอล 7 คน (สนามกีฬากลาง จ.ราชบุรี และสนามกีฬาในค่ายบุรฉัตร)
  3. เปตอง (สนามตลาดเมืองทอง)
  4. วอลเล่ย์บอล (โรงยิมเนเซี่ยมสนามกีฬากลาง จ.ราชบุรี)
  5. กรีฑา ประกอบด้วย ประเภทลู่-วิ่ง 100,200,400,800,1,500 เมตร ประเภทลาน-กระโดดสูง กระโดดไกล (สนามกีฬากลาง จ.ราชบุรี)
  6. กีฬาพื้นบ้าน ประกอบด้วย วิ่งแบกก๋วย วิ่งขาหยั่ง ยิงหน้าไม้  ขว้างลูกข่าง ชักเย่อ ขว้างสากมอง กลิ้งครก พุ่งหอกซัด ตักน้ำใส่กระบอก ขว้างมีดสั้น และเป่าลูกดอก (สนามกีฬา อ.สวนผึ้ง)

จังหวัดที่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน รวม 20 จังหวัด ได้แก่
  1. กาญจนบุรี  นักกีฬา ชาย 55 คน หญิง 41 คน เจ้าหน้าที่ 45 คน รวม 141 คน
  2. กำแพงเพชร (เท่ากับข้อ 1)
  3. เชียงราย (เท่ากับข้อ 1)
  4. เชียงใหม่ (เท่ากับข้อ 1)
  5. ตาก (เท่ากับข้อ 1)
  6. น่าน นักกีฬา ชาย 42 คน หญิง 30 คน เจ้าหน้าที่ 28 คน รวม 100 คน
  7. ประจวบคิรีขันธ์  นักกีฬา ชาย 41 คน หญิง 36 คน เจ้าหน้าที่ 38 คน รวม 115 คน
  8. พะเยา (เท่ากับข้อ 1)
  9. พิษณุโลก (เท่ากับข้อ 1)
  10. เพชรบุรี  นักกีฬา ชาย 53 คน หญิง 41 คน เจ้าหน้าที่ 43 คน รวม 137 คน
  11. เพชรบูรณ์ (เท่ากับข้อ 1)
  12. แพร่ (เท่ากับข้อ 1)
  13. แม่ฮ่องสอน (เท่ากับข้อ 1)
  14. ลำปาง นักกีฬา ชาย 36 คน หญิง 35 คน เจ้าหน้าที่ 27  คน รวม 98 คน
  15. ลำพูน นักกีฬา ชาย 53 คน หญิง 41 คน เจ้าหน้าที่ 45 คน รวม 139 คน
  16. เลย (เท่ากับข้อ 1)
  17. สุโขทัย (เท่ากับข้อ 1)
  18. สุพรรณบุรี (เท่ากับข้อ 1)
  19. อุทัยธานี นักกีฬา ชาย 55 คน หญิง 41 คน เจ้าหน้าที่ 25 คน รวม 121 คน
  20. ราชบุรี (เท่ากับข้อ 1)
    รวมทั้งสิ้น นักกีฬา ชาย 1,050 คน หญิง 798 คน เจ้าหน้าที่ 836 คน รวม 2,674 คน

สถานที่พักนักกีฬาและเจ้าหน้าที่
  1. โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดสัตนาถปริวัตร) จังหวัดลำปาง, ลำพูน
  2. โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดช่องลม)  จังหวัดกาญจนบุรี, สุพรรณบุรี
  3. โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดเทพอาวาส) จังหวัดกำแพงเพชร, ตาก
  4. โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดมหาธาตุวรวิหาร) จังหวัดน่าน, อุทัยธานี
  5. โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามิทรภักดี) จังหวัดเชียงราย, แม่ฮ่องสอน, เลย
  6. โรงเรียนวัดเขาวัง (แสง ช่วงสุวนิช) จังหวัดราชบุรี
  7. โรงเรียนอนุบาลราชบุรี จังหวัดแพร่
  8. โรงเรียนวัดดอนตะโก จังหวัดสุโขทัย
  9. โรงเรียนวัดดอนแจง  จังหวัดพะเยา
  10. โรงเรียนวัดท้ายเมือง จังหวัดเชียงใหม่
  11. โรงเรียนวัดบางลี่ จังหวัดเพชรบุรี
  12. โรงเรียนวัดอรัญญิกาวาส จังหวัดประจวบคิรีขันธ์
  13. โรงเรียนวัดเจติยาราม จังหวัดพิษณุโลก
  14. วัดอัมรินทราราม (วัดตาล) จังหวัดเพชรบูรณ์

บุคคลที่ได้รับเกียรติเชิดชูในพิธีเปิดการแข่งขันฯ 
เมื่อ 6 พ.ค.2554 ณ สนามกีฬากลาง จ.ราชบุรี เวลา 16:00-18:30 น.
(ดูรายละเอียดประวัติแต่ละท่าน)
  • นักกีฬาวิ่งคบเพลิง นายกิตติคม เทิดสกุลธรรม (สุข),นายสามารถ  พอชู และ น.ส.อมรรัตน์ จั๊บโปรย
  • นักกีฬาอาวุโส นายนิคม ศรรีคำ
  • ผู้แทนผู้ตัดสินกีฬา นายพรรณชัย  เจนนพกาญจน์

เพลงประจำการแข่งขัน  เพลง "พญาผึ้งเกมส์" (ดูรายละเอียดเนื้อเพลง)


*******************************************************


ที่มาข้อมูล
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี. (2554). สูจิบัตรการแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขาครั้งที่ 23 ประจำปี 2554. ไม่ทราบที่พิมพ์ (ดูภาพหนังสือ)


อ่านต่อ >>

วันอังคารที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

มีอะไรใน "ศึกมหกรรมมวย 9 ทัพ 9 เวที" ที่ราชบุรี



มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง วิทยาลัยมวยไทยศึกษาและการแพทย์แผนไทย และคณะกรรมการส่งเสริมกิจการมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง(กสม.) ได้ร่วมกันจัด "ศึกมหกรรมมวย 9 ทัพ 9 เวที" ขึ้นในวันศุกร์ที่ 25 ก.พ.2554 ระหว่างเวลา 09:00-17:00 น. ณ ศูนย์การเรียนรู้ในเมืองของมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง ถนนเหลี่ยงเมือง ต.ดอนตะโก อ.เมือง จ.ราชบุรี ซึ่งนับเป็นการจัดครั้งแรกในประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อจัดหาทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาที่ขาดแคลน ซึ่งในการจัดครั้งนี้มีกิจกรรมที่น่าสนใจในแต่ละเวทีดังนี้

เวทีที่ 1 เวทีกลาง*****
จัดโดย บริษัท เพชรยินดี บ๊อกซิ่ง โปรโมชั่น จำกัด ถ่ายทอดสดทางช่อง 7 สี เวลา 15:00-17:00 น. โดยมีคู่มวยชกในเวทีนี้ 5 คู่เรียงลำดับดังนี้
  1. มวยไทยชิงแชมป์โลก สถาบัน AITMA (ของมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง) ระหว่าง สิงห์พยัคฆ์ ม.ราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง (นักศึกษา) กับ ทริสตัน แคนดิส (ชาวแคนาดา)
  2. มวยสากลพิเศษ 10 ยก (110 ปอนด์)  ระหว่าง คมพยัคฆ์  ป.ประมุข (แชมป์รุ่นไลท์ฟลายเวต WBC) กับ โรเลน เดล คัสติลโย่ (ชาวฟิลิบปินส์)
  3. การป้องกันตำแหน่งแชมเปี้ยนโลกเยาวชนสภามวยโลก WBC รุ่นไลท์ฟลายเวต (105 ปอนด์) ครั้งที่ 2****** ระหว่าง ยอดมงคล  ซีพีเฟรชมาร์ท (แชมป์โลกเยาวชน รุ่นไลท์ฟลายเวต WBC) กับ ลิออนเนล มาร์ค ดูรัน (ผู้ท้าชิงชาวฟิลิบปินส์)
  4. มวยสากลพิเศษ 10 ยก (125 ปอนด์) ระหว่าง เม็ดเงิน ซีพีเฟรชมาร์ท (อดีตแชมป์โลก รุ่นฟลายเวต สภามวยโลก WBC) กับ พิชิต ทวินยิมส์
  5. มวยสากลพิเศษ 10 ยก (147 ปอนด์) ระหว่าง สภาเพชร ส.สกาวรัตน์ (แชมเปี้ยนมวยสากลรุ่นไลท์เวต เวทีลุมพินี) กับ เด่นกมล ภักดียิมส์
เวทีที่ 2 เวทีศิลปะมวยไทย
การแข่งขันในเวทีนี้ประกอบด้วยการแข่งขันไหว้ครู ทักษะมวยและการร่ายรำการไหว้ครู เริ่มแข่งขันรอบแรกเวลา 10:00-12:00 น. และรอบชิงเวลา 13:00-15:00 น. 

เวทีที่ 3 เวทีออกกำลังกายมวยไทย
เป็นการนำท่าทางของมวยไทยกับการไหว้ครูทักษะของกีฬามวยไทย ศิลปะมวยไทย มาเป็นท่าทางประกอบโดยใช้เพลงหรือดนตรีมาประกอบ เริ่มมาจากออกกำลังกายโดยใช้ "แม่ไม้มวยไทย" ต่อมาพัฒนาเป็น "มวยไทยแอโรบิค" ต่อมาพัฒนาเป็น "คีตะมวยไทย" จนปัจจุบันกลายเป็น "นาฎมวยไทย" เริ่มแข่งขันรอบแรกเวลา 10:00-12:00 น. และรอบชิงเวลา 13:00-15:00 น.

ภาพจำลองประกอบบทความ
เวทีที่ 4 เวทีมวยคาดเชือก*****
เป็นการชกมวยไทยในสมัยโบราณ โดยใช้เชือกพันที่หมัดทั้งสองแทนการใช้นวม ปัจจุบันยังมีชกกันอยู่ในประเทศพม่า ส่วนในประเทศไทยใช้้ชกเป็นการแสดงเท่านั้น การชกมวยในเวทีนี้ เริ่มการแข่งขันเวลา 16:00-18:00 น. มีด้วยกัน 4 คู่ เป็นชาวไทย กับ ชาวพม่าแท้  เรียงลำดับ ดังนี้
  1. รุ่น 50 กก. ระหว่าง พงษ์เพชร  เพชรลำจวน (ไทย) กับ จ่อแฮ  เมียวดี (พม่า)
  2. รุ่น 55 กก. ระหว่าง เบียร์ทอง เพชรลำจวน (ไทย) กับ ซิอ่อง ผาอ่าง (พม่า)
  3. รุ่น 60 กก. ระหว่าง กวางเงิน บ.ข.ส.(ไทย) กับ เรมิตอ ย่างกุ้ง (พม่า)
  4. รุ่น 50 กก. ระหว่าง สิงหา เพชรลำดวน (ไทย) กับ เสน่ห์หล่อ ผาอ่าง (พม่า)
เวทีที่ 5 เวทีมวยไทยนานาชาติ*****
เป็นการชกมวยไทยแบบอาชีพ แต่มีผู้ชกเป็นชาวต่างชาติ ต้องมีการไหว้ครูและร่ายรำตามศิลปะประเพณีของไทย แบ่งเป็น 5 ยก ยกละ 3 นาที  พักยกละ 2 นาที การชกมวยในเวทีนี้ เริ่มเวลา 15:30-17:30 น. มีด้วยกัน 8 คู่ ชิงถ้วยรางวัลไหว้ครูสวยงามและศิลปะมวยไทย เรียงลำดับคู่ดังนี้
  1. EDWARD LERBOL กับ SAM ศิษย์สมหมาย
  2. TAKACHILO CHINYA กับ ไข่มุกดำ สพล.สมุทรสาคร
  3. ELIAS ศิษย์ครูเจ๋ง กับ TAKACHI บ้านมวยไทย
  4. ยูริโกะ  แก้วสัมฤทธิ์ กับ น้องแอ้ม  จักรพันธ์ทัวร์
  5. เทซี่ ศิษย์ชะมวง กับ พอลล่า  บ้านมวยไทย
  6. เสือ แก้วสัมฤทธิ์ กับ LION ส.วุฒิชัย
  7. PETER GONCZ กับ รุ่งเพชร  ม.ราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง
  8. HUNTER แก้วสัมฤทธิ์ กับ แสนอิสาน จ.เกียรติชนก 
เวทีที่ 6 เวทีมวยไทยสมัครเล่น
เป็นการแข่งขันชกมวยไทยโดยใช้ระเบียบกติกาของสมาคมมวยไทยสมัครเล่นแห่งประเทศไทย ผู้ชกจะต้องสวมเครื่องป้องกันศีรษะ ลำตัว ศอก หน้าแข้ง หากเป็นหญิงต้องเพิ่มเครื่องป้องกันหน้าอก ท้องน้อยและอวัยเพศ การแข่งขันเวทีนี้เริ่มการแข่งขัน 16:00-17:30 น. มีคู่มวยทั้งหมด 8 คู่ เรียงลำดับดังนี้
  1. รุ่น 42 กก. ระหว่าง สหรัฐ  จรูญผล (ทีมภาคกลาง) กับ อนุสรณ์ อินทรีย์ (ทีมภาคตะวันตก)
  2. รุ่น 45 กก. ระหว่าง อธิการ แพทย์ผล (ทีมภาคกลาง) กับ หฤทธิ์ อภิบาลศรี (ทีมภาคตะวันตก)
  3. รุ่น 47 กก. ระหว่าง นิลพญา ส.โสพิศ (ทีมถาคกลาง) กับ น้องบิน 13 เหรียญรีสอร์ท (ทีมภาคตะวันตก)
  4. รุ่น 48 กก. ระหว่าง จิราวัฒน์  มาใบ (ทีมภาคกลาง) กับ วิทวัส  ตรีรัตน์ (ทีมภาคตะวันตก)
  5. รุ่น 51 กก. ระหว่าง ศิริเดช ดีบุก (ทีมภาคกลาง) กับ ศุภชัย  เหมทรัพย์ (ทีมภาคตะวันตก)
  6. รุ่น 54 กก. ระหว่าง วุฒิกรณ์  พัฒนา (ทีมภาคกลาง) กับ อดิศักดิ์  สาระวัน (ทีมภาคตะวันตก)
  7. รุ่น 57 กก. ระหว่าง วีระวัฒน์ สุขชัยศรี (ทีมภาคกลาง) กับ วาธพร  คำสุนทร (ทีมภาคตะวันตก)
  8. รุ่น 60 กก. ระหว่าง สมชาย  สพล.สมุทรสาคร (ทีมภาคกลาง) กับ จักรินทร์  ปดิฐพร (ทีมภาคตะวันตก)
ภาพจำลองประกอบบทความ

เวทีที่ 7 เวทีมวยไทยหญิง*****
เป็นการแข่งขันมวยไทยหญิงประเภทอาชีพ เริ่มการแข่งขันระหว่าง 16:00-18:00 น. มีด้วยกันทั้งหมด 8 คู่ และในรุ่น 53 กก.เป็นการชิงแชมป์มวยไทยหญิง 9 ทัพด้วย คู่ชกต่างๆ มีดังนี้ 
  1. รุ่น 49 กก. ระหว่าง น้องบิว ม.ราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง กับ น้องมิ้ว 13 เหรียญรีสอร์ท
  2. รุ่น 49 กก. ระหว่าง โสนน้อย ส.บุษบา กับ สาวเมืองอินทร์ ส.โสพิศ
  3. รุ่น 50 กก. ระหว่าง น้องปราย ม.ราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง กับ เชือดนิ่มนิ่ม ศิษย์เกรียงไกร
  4. รุ่น 50 กก. ระหว่าง เพชรลัดดา ม.กรุงเทพธนบุรี กับ  น้องอาย อ.วันเชิด
  5. รุ่น 51 กก. ระหว่าง น้องเมล์ ไร่อ้อยเนตรนคร กับ น้องกิ๊บ อ.วันเชิด
  6. รุ่น 52 กก. ระหว่าง น้องมาย  ศิษย์ประกายฟ้า กับ แก่นแก้ว  ศรีกุมาร
  7. รุ่น 53 กก. ระหว่าง น้องบี ม.ราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง กับ อารีย์ ส.ธรรมจักร
  8. รุ่น 53 กก. ชิงแชมป์มวยไทยหญิง 9 ทัพ  ระหว่าง ฟ้าสีทอง ม.ราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง กับ น้องแนน เดชรัตน์*******
เวทีที่ 8 เวทีสาธิตมวยโบราณ
เริ่มสาธิต  14:00-15:30 น. อาทิ
  • มวยตับจาก ซึ่งเป็นกีฬาพื้นบ้านยอดนิยมของภาคตะวันออก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง จ.ชลบุรี เพราะเนื่องจากในอดีตมีการปลูกต้นจากเป็นจำนวนมาก แต่ปัจจุบันกีฬาประเภทนี้สูญหายไปด้วยเหตุที่ป่าจากมีการปลูกลดลง อุปกรณ์ที่ใช้ในการแข่งขัน คือ ใบจากแห้งมาก ปูให้ทั่วพื้นเวทีและเชือกสำหรับขึงเวทีด้วย เวลาเหยียบจะได้ยินเสียงดังกรอบแกรบ ในการแข่งขันจะผูกตาด้วยผ้า มีกรรมการคอยให้สัญญาณเริ่ม นักมวยจะเดินเข้าหาคู่ต่อสู้แล้วต่อสู้กันโดยฟังเสียงจากการเดินและต่อย ใครต่อยเข้าเป้าหรือโดนคู่ต่อสู้ ตามหลักเกณฑ์การให้คะแนน
  • มวยกระพรวน การแข่งขันมวยกระพรวน กติกาคล้ายๆ กับมวยตับจากแต่มวยกระพรวนจะมีกระพรวนผูกที่ข้อเท้าเพื่อฟังเสียงคู่ต่อสู้ว่าอยู่ทางด้านไหน เพื่อเข้าไปหต่อยคู่ต่อสู้ หลักเกณฑ์การให้คะแนนก็ใกล้เคียงกัน
  • มวยไทยไชยา อ.ไชยา จ.สุราษฎร์ธานี  มีชื่อเสียงมากในสมัยรัชกาลที่ 2 มวยไชยาเป็นศิลปะป้องกันตัว มวยไชยามีลีลางดงามประกอบด้วยวิชาที่ผสมผสานกับอวัยวุธอย่างกลมกลืน และเป็นที่นิยมในปัจจุบันเป็นอย่างมาก โดยเป็นการสั่งสมและมีระเบียบการเรียนการสอน สามารถใช้โจมตีได้อย่างมั่นใจ รวมถึงมีหลักการการป้องกันตัวด้วย ดังมีคำกลอนว่า "หมัดดีโคราช ฉลาดลพบุรี ท่าดีไชยา"  มีมวยฝีมือดี จนได้รับการยกย่องว่าเป็น เมืองมวย
เวทีที่ 9 เวทีมวยทะเล
เป็นการละเล่นพื้นบ้านของไทยสามารถเล่นได้ทั้งผู้ใหญ่และเด็ก ซึ่งมีวิธีการเล่นที่แตกต่างจากมวยทั่วๆ ไปคือ จะชกต่อยกันอยู่บนไม้กระดานแผ่นเดียว และถ้าใครตกลงมาจากไม้กระดานก็จะถือว่าคนน้นเป็นฝ่ายแพ้ ส่วนสถานที่เล่นนั้นก็จะเป็นในน้ำหรือริมทะเล เริ่มการแข่งขัน เวลา 13:00-15:00 น.

กิจกรรมอื่นๆ
การประกวดวาดภาพระบายสี, นิทรรศการวิชาการเกี่ยวกับมวยไทย, การจำหน่ายของที่ระลึก ฯลฯ

ศึกมหกรรมมวย 9 ทัพ 9 เวที นี้ เปฺิดให้เข้าชม ฟรี! 
ส่วนที่มาของรายได้ก็คือ จากสปอนด์เซอร์ผู้ให้การสนับสนุน และผู้มีจิตศรัทธาบริจาค และการจำหน่ายบัตร VIP  ในเวทีที่ 1 เวทีกลาง

อ่านต่อ >>

วันอาทิตย์ที่ 2 มกราคม พ.ศ. 2554

จอมบึงมาราธาธอน-เสือภูเขา ตำนานการวิ่งชาวบ้านสู่มาตรฐานสากล

สสส.จอมบึงมาราธอน ปีที่ 26
26th Thai Health Chom Bueng Marathon 2011

งานวิ่งประเพณีของชาวบ้านที่มีมารตฐานสากล ถ้วยรางวัลพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (HRH Princess Maha Chakri Sirindhorn Trophy)

ในปีที่ 26 นี้จัดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 16 ม.ค.2554 เริ่มแข่งขันเวลา 04:00 น.  ณ บริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง อ.จอมบึง จ.ราชบุรี แบ่งประเภทการแข่งขัน ดังนี้
  • มาราธอน ระยะทาง 42.195 กิโลเมตร
  • ครึ่งมาราธอน  ระยะทาง 21.1 กิโลเมตร
  • มินิมาราธอน ระยะทาง 9 กิโลเมตร
  • การเดินเพื่อสุขภาพ (ไม่มีการแข่งขัน)
ก่อนที่จะถึงวันแข่งขันได้จัดให้มีกิจกรรมล่วงหน้าตั้งแต่วันที่ 14 และ 15 ม.ค.2554 โดยมีกิจกรรมย่อยเช่น นิทรรศการและกิจกรรมเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ภูมิพลอดุลยเดช ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 84 พรรษา  กิจกรรมรณรงค์สร้างเสริมสุขภาพ การสาธิตการออกกำลังกายประเภทต่างๆ การรณรงค์ "จอมบึงเมืองจักรยาน" กิจกรรม "คนราชบุรีว่ายน้ำเป็น เล่นน้ำปลอดภัย" กิจกรรม "สวนสร้างสุข : Healthy Park" การแสดงและจำหน่ายผลิตภัณฑ์ออกกำลังกาย (เสื้อผ้า รองเท้า อุปกรณ์กีฬา) กิจกรรมการออกกำลังกายสำหรับเด็ก : KID FUN RUN การประชุมวิชาการสำหรับนักวิ่งเพื่อสุขภาพ และเสน่ห์ที่สำคัญคือ การรับประทานอาหารเย็นและชมการแสดงทางวัฒนธรรม ดนตรี  ร่วมกันของบรรดาเหล่านักวิ่งเพื่อสุขภาพทั้งหลาย ที่เวทีบรเวณเชิงเขา ในช่วงเย็นวันที่ 15 ม.ค.2554

ความสำเร็จของการแข่งขันวิ่งจอมบึงมาราธาธอน-เสือภูเขาที่เห็นในวันนี้ เริ่มมาจากตำนานการวิ่งประเพณีของชาวบ้านเล็กๆ จนเป็นการแข่งขันวิ่งในระดับมาตรฐานสากลของประเทศและของโลก ล้วนต้องใช้เวลาในการสั่งสมมานานนับปี  ดังตำนานกล่าวขาน ที่ถูกบันทึกไว้ดังนี้

ตำนาน
จอมบึงมาราธอน เป็นงานวิ่งที่รู้จักและได้รับการยอมรับจากนักวิ่งเพื่อสุขภาพทั่วประเทศ ก่อกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2529 โดยอาจารย์ของวิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึงกลุ่มหนึ่งที่มีความสนใจการวิ่งเพื่อสุขภาพ ครั้งนั้นมีผู้เข้าร่วมไม่ถึง 100 คน เก็บค่าสมัครคนละ 20 บาท เบอร์วิ่งทำขึ้นเองจากผ้าด้ายดิบ เขียนตัวเลขด้วยสีน้ำมัน ระยะทางวิ่ง 10 กม. จุดเริ่มต้นอยู่ที่ถ้ำเขาบิน และเส้นชัยอยู่ที่ถ้าจอมพล

คุณธิดา สนเจริญ
จอมบึงมาราธอน 2553
ภาพโดยคุณรุจน์
ที่มา PATrunning
จากวันนั้นงานวิ่งเล็ก ๆ ที่จอมบึง ก็ถูกจัดขึ้นเป็นประจำในช่วงสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนมกราคม จนกลายเป็นประเพณีของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึงและชาวจอมบึง ตลอดจนนักวิ่งเพื่อสุขภาพจากทั่วประเทศ ที่กล่าวขานกันว่า "ใครไม่เคยวิ่งสนามจอมบึง ไม่ใช่นักวิ่งที่แท้จริง"

นับตั้งแต่ปี พ.ศ. 2535 เป็นต้นมา จำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรมมีมากกว่า 5,000 คน ทุกปี งานวิ่งมาราธอนในระยะเริ่มแรก เป็นการจัดการแข่งขันวิ่งบนถนน ระยะทาง 10 กิโลเมตร ต่อมาในปี พ.ศ. 2532 เพิ่มระยะทาง 21.1 ก.ม. เข้าไปด้วย ชื่อการวิ่งจึงเปลี่ยนเป็น "จอมบึงครึ่งมาราธอน" ต่อมาในปี พ.ศ.2542 เป็นปีที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงมีพระชนมายุ 72 พรรษา คณะกรรมการจัดการแข่งขันจึงเพิ่มการวิ่งมาราธอน ระยะทาง 42.195 ก.ม. ขึ้นอีกระยะหนึ่ง ชื่องานจึงเปลี่ยนเป็น "จอมบึงมาราธอน" จนถึงปัจจุบัน

ส่วนการจัดการแข่งขันจักรยานจอมบึงเสือภูเขานั้น มหาวิทยาลัยฯ เริ่มจัดการแข่งขันครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ด้วยเจตนาที่จะนำจักรยานมาเป็นเครื่องมือ "ประหยัดพลังงาน ลดมลพิษ กายและจิตใจแจ่มใสสมบูรณ์" ในปีแรกมีนักจักรยานเข้าร่วมแข่งขัน 150 คัน และเพิ่มจำนวนมากขึ้นทุกปี สถิตินักจักรยานมากที่สุดอยู่ในปี พ.ศ. 2541 มีจำนวน 765 คัน ประเภทการแข่งขันจักรยานเสือภูเขาเป็นประเภท "ครอสคันทรี่ "

ฯพณฯ พลเอกวิจิตร กุลละวณิชย์ องคมนตรีและนายกสมาคมนักวิ่งเพื่อสุขภาพแห่งประเทศไทย กล่าวไว้เมื่อครั้งเป็นประธานการแข่งขันจอมบึงมาราธอนปี พ.ศ.2541 ว่า "ความสำเร็จของการจัดการแข่งขันจอมบึงมาราธอนอยู่ที่การมีทีมงานที่มีประสิทธิภาพ และมีการบริหารจัดการที่ดี"

นักวิ่งจำนวนมากกล่าวถึงสนามจอมบึงว่า เป็นสนามต้นแบบของการจัดวิ่ง เพราะที่นี้คือ การริเริ่มให้มีงานเลี้ยงสังสรรค์นักกีฬาในเย็นวันเสาร์ก่อนจะแข่งขันในวันรุ่งขึ้น ด้วยเหตุผลว่านักวิ่งจำนวนมากต้องเดินทางมาพักค้างคืนล่วงหน้า และไม่สะดวกในการหาอาหารรับประทาน งานเลี้ยงสังสรรค์จึงเป็นสีสันที่สร้างความประทับใจให้กับนักวิ่งตลอดมา

การต้อนรับและการเชียร์ เป็นเอกลักษณ์ที่ทำให้จอมบึงมาราธอนมีมนต์ขลังต่อการทำให้นักวิ่งกลับมาวิ่งที่นี้อีกอย่างไม่รู้สึกเบื่อ จุดเด่นด้านนี้ยิ่งเพิ่มมากขึ้น เมื่อชุมชนบนเส้นทางแข่งขันออกมามีส่วนร่วม ต้อนรับ เชียร์ และบริการน้ำดื่ม ตลอดเส้นทางแข่งขัน 42.195 ก.ม.

ธรรมชาติและบรรยากาศกลางเดือนมกราคมที่อากาศเย็นสบาย ก็มีส่วนอย่างมากในการสร้างความประทับใจแก่นักวิ่ง ประกอบกับเส้นทางแข่งขันที่ปลอดจากยวดยานและมลพิษ อันเกิดจากการดูแลอย่างดียิ่งของเจ้าหน้าที่ตำรวจ สถานีตำรวจภูธรอำเภอจอมบึง จนมีการนำไปกล่าวอ้างเป็นแบบอย่างในการจัดแข่งขัน ณ สนามอื่น ๆ

รางวัลถ้วยพระราชทานสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เป็นสิริมงคลอันสูงยิ่งของการแข่งขันจอมบึงมาราธอน - จอมบึงเสือภูเขา นับเป็นเกียรติที่ชาวจอมบึงและนักวิ่งเพื่อสุขภาพซาบซึ้งในพระมหากรุณาธิคุณ และมุ่งมั่นรักษาการแข่งขันรายการนี้ไว้ให้ยั่งยืนตลอดไป

ความสำเร็จของ "จอมบึงมาราธอน - จอมบึงเสือภูเขา" ที่ผ่านมาเกิดจากปัจจัยด้าน "ทีมงาน" และ "การบริหารจัดการที่ดี" ตามคำกล่าวอ้างของ ฯพณฯ พลเอกพิจิตร กุลละวณิชย์ จริง ๆ เพราะงานของการจัดงานวิ่งที่จอมบึงมิใช่เกิดจากใครคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง แต่เป็นทีมงานที่มีเครือข่ายอันกว้างขวางครอบคลุมทั้งบุคลากรของมหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง อันประกอบด้วย ผู้บริหาร คณาจารย์ นักศึกษา เจ้าหน้าที่ และศิษย์เก่า นอกจากนั้นเครือข่ายของการมีส่วนร่วมยังขยายวงกว้างไปถึงข้าราชการและประชาชน ตลอดจนเยาวชนในท้องถิ่นอีกด้วย

ด้วยระบบการบริหารจัดการที่ดี งานจอมบึงมาราธอน - จอมบึงเสือภูเขา จึงได้รับความร่วมมืออย่างดียิ่ง ทั้งจากภาครัฐและเอกชน ที่เข้ามาให้ความช่วยเหลือด้านงบประมาณและการสนับสนุนรูปแบบต่างๆ ช่วยให้งานดำเนินมาได้ถึง 26 ปี (นับถึง พ.ศ. 2554) และจะดำเนินต่อไปอย่างไม่มีวันสิ้นสุด
  
ภาพโดยคุณรุจน์
ที่มาของภาพ PATrunning
สสส.จอมบึงมาราธอน ปีที่ 26
เป็นความมุ่งมั่น   ตั้งใจของมหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง มูลนิธิวิทยาลัยครูหมู่บ้านจอมบึง สมาคมศิษย์เก่ามหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง และประชาชนชาวจอมบึงทั้งมวล ที่จะสะท้อนเสียงเรียกร้องจาก "หมู่บ้านจอมบึง" ไปสู่หมู่บ้านอีกกว่า 8 หมื่นหมู่บ้านทั่วประเทศ ให้เห็นคุณค่าของการมีกิจกรรมเคลื่อนไหวร่างกายเพื่อลดภาวะโรคเรื้อรัง ภายใต้คำขวัญที่ว่า
"ชวนขยับทั้งประเทศ : THAILAND on the MOVE"

หมายเหตุ
  • คลิกชมข้อมูลการแข่งขัน การสมัคร และการเดินทาง ได้ที่ www.thaijoggingclup.net
  • ติดต่อสอบถาม ผศ.จิรศักดิ์  เอี่ยมพงษ์ไพฑูรย์ โทร.08-1880-5612, อ.ณรงค์ เทียมเมฆ โทร.08-4674-3311, คณอมรา  สังข์วงศ์ โทร.0-2272-0142, 08-1658-4704 และนายอนันต์ ชัยขรรค์ โทร.08-7096-7264  
ภาพโดยคุณรุจน์ ที่มาของภาพ PATrunning

ที่มาข้อมูล
  • มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง. (2554). สสส.จอมบึงมาราธอน : จอมบึงเสือภูเขา. [Online]. Available :http://www.mcru.ac.th/marathon/. [2554 มกราคม 2 ].
  • มหาวิทยาลัยราชภัฎหมู่บ้านจอมบึง. (2553). สสส.จอมบึงมาราธอน ปีที่ 26 : แผ่นพับประชาสัมพันธ์. แจกจ่ายเมื่อ 28 ธ.ค.2553.
อ่านต่อ >>