การแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 ประจำปี 2554 "พญาผึ้งเกมส์"
จังหวัดราชบุรีในสมัย นายสุเทพ โกมลภมร ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ได้รับความไว้วางใจจาก กรมพลศึกษา กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ให้เป็นเจ้าภาพจัด การแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 ประจำปี 2554 ขึ้นในระหว่างวันที่ 6-10 พฤษภาคม พ.ศ.2554 โดยใช้ชื่อเกมส์ว่า "พญาผึ้งเกมส์" และใช้สนามกีฬาต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดราชบุรีเป็นสนามแข่งขัน กระทำพิธีเปิดและปิดที่สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
จังหวัดราชบุรีในสมัย นายสุเทพ โกมลภมร ดำรงตำแหน่งเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี ได้รับความไว้วางใจจาก กรมพลศึกษา กระทรวงท่องเที่ยวและกีฬา ให้เป็นเจ้าภาพจัด การแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 23 ประจำปี 2554 ขึ้นในระหว่างวันที่ 6-10 พฤษภาคม พ.ศ.2554 โดยใช้ชื่อเกมส์ว่า "พญาผึ้งเกมส์" และใช้สนามกีฬาต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดราชบุรีเป็นสนามแข่งขัน กระทำพิธีเปิดและปิดที่สนามกีฬากลางจังหวัดราชบุรี
ประวัติการแข่งขัน
การแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขานี้ เริ่มต้นมาจาก การแข่งขันกีฬาชาวดอย ซึ่งจัดต่อเนื่องกันมาตั้งแต่ครั้งที่ 1-18 ดำเนินการโดยการกีฬาแห่งประเทศไทย ต่อมาเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงการปฏิรูประบบราชการ พ.ศ.2545 จึงได้มีการโอนภารกิจการจัดการแข่งขันกีฬาชาวดอย ให้แก่ สำนักงานพัฒนาการกีฬาและนันทนาการ (กรมพลศึกษาเดิม) ดำเนินในปี พ.ศ.2549 เป็นต้นมา และได้เปลี่ยนชื่อเกม เป็นการแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขา แห่งประเทศไทย โดยมีรายละเอียดพอสังเขป ดังนี้
วัตถุประสงค์การจัดการแข่งขัน
สัญลักษณ์การแข่งขัน
ความหมาย โอ่งมังกรมาจากการที่จังหวัดราชบุรีเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงด้านอุตสาหกรรมผลิตเครื่องเคลือบดินเผาที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะโอ่งมังกร ซึ่งมีประวัติการผลิตที่ยาวนาน และเป็นที่รู้จักกันดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดราชบุรีในปัจจุบัน
คบเพลิง คือ ความรุ่งโรจน์ ความเจริญก้าวหน้า
เปลวไฟ คือ การเริ่มต้นการแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขา
ภูเขา คือ ความอุดมสมบูรณ์ของภูเขาธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอสวนผึ้ง
ดอกไม้ คือ ความสวยงามของจังหวัดราชบุรี ที่มีคำขวัญ "คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง"
โอ่ง คือ การประกอบอาชีพของชาวจังหวัดราชบุรี ทั้งเกษตรกรรม หัตถกรรม ที่แสดงถึงการเป็นนักต่อสู้มีความอดทน ไม่ย่อท้อ ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค เช่นเดียวกับนักกีฬาทุกคน ที่พร้อมใจกันสร้างพลังแห่งการแข่งขัน และรวมพลังเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาฯ ในครั้งนี้
โอ่งและคบเพลิง คือ ความชื่นชมยินดีต้อนรับและความมีน้ำใจของนักกีฬาทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้
ความหมายของสี
สีน้ำเงิน คือ จุดรวมใจของชาวไทยภูเขา
สีแดง คือ พลังและความกล้าหาญ
สีเขียว คือ ความอุดมสมบูรณ์ของภูเขาธรรมชาติ
สีฟ้า คือ พลังของการสร้างสรรค์ในการแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขา
สีเหลือง คือ ความสนุกสนาน ร่าเริง มิตรภาพ และรอยยิ้ม
สีดำ คือ กลุ่มพลังนักกีฬาชาวไทยภูเขาทุกคน
สัญญลักษณ์นำโชค - พญาผึ้ง
พญาผึ้ง เป็นตัวแทนของความขยัน การอยู่ร่วมกัน และการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
ความหมาย ประชาชนชาวไทยภูเขาจังหวัดราชบุรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นนักต่อสู้ชีวิต อดทน รักความสามัคคีในกลุ่มชาวไทยภูเขา และไม่ย่อท้อ ไม่ยอมแพ้ต่อความยากลำบากที่จะเกิดขึ้นในชีวิตของเขา
ชนิดกีฬาที่ทำการแข่งขัน (สนามแข่งขัน) ได้แก่
- กีฬาชาวดอย ครั้งที่ 1 จัดขึ้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อ พ.ศ.2529
- ...............ฯลฯ..........................
- กีฬาชาวดอย ครั้งที่ 18 (ครั้งสุดท้ายก่อนเปลี่ยนชื่อเกมส์) จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงราย เมื่อ พ.ศ.2548
- กีฬาชาวไทยภูเขา ครั้งที่ 19 จัดขึ้นที่จังหวัดกำแพงเพชร พ.ศ.2549 (สำนักการกีฬาและนันทนาการ เป็นผู้รับผิดชอบ ต่อจาก การกีฬาแห่งประเทศไทย)
- ................ฯลฯ.......................
- กีฬาชาวไทยภูเขา ครั้งที่ 22 "นครเชียงใหม่ ไทยภูเขาเกมส์" จัดขึ้นที่จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2553 (ครั้งนี้ สำนักงานการกีฬาและนันทนาการ เปลี่ยนชื่อกลับเป็นชื่อเดิมคือ กรมพลศึกษา)
- กีฬาชาวไทยภูเขา ครั้งที่ 23 "พญาผึ้งเกมส์" จัดขึ้นที่จังหวัดราชบุรี ระหว่าง 6-10 พ.ค.2554
- เจ้าภาพครั้งต่อไปคือ จังหวัดเลย
วัตถุประสงค์การจัดการแข่งขัน
- เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนกลุ่มนี้มีการพัฒนาคุณภาพชีวิต โดยสร้างสุขภาพพลานามัย ให้รู้จักการออกกำลังกายอย่างถูกวิธี
- เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนกลุ่มนี้เข้าใจถึงการออกกำลังกายเพื่อสุขภาพ
- เพื่อเป็นการลดช่องว่างระหว่างชนกลุ่มใหญ่ที่อยู่ในเมืองกับชนกลุ่มชาวไทยภูเขา และทำให้ชนกลุ่มนี้ รู้สึกถึงการเป็นส่วนหนึ่งของประชากรในประเทศไทย
- เพื่อเป็นการสร้างความรัก ความสามัคคี การมีระเบียบวินัย ให้กับชาวไทยภูเขา
- เพื่อเปิดโอกาสให้ประชาชนกลุ่มนี้ ซึ่งเป๋นประชากรกลุ่มใหญ่ที่อยู่ตามตะเข็บชายแดนของประเทศไทย ให้มีศักยภาพจะเป็นภูมิคุ้มกันให้กับประเทศชาติอีกทางหนึ่ง
ตราสัญลักษณ์การแข่งขัน |
สัญลักษณ์การแข่งขัน
ความหมาย โอ่งมังกรมาจากการที่จังหวัดราชบุรีเป็นจังหวัดที่มีชื่อเสียงด้านอุตสาหกรรมผลิตเครื่องเคลือบดินเผาที่มีคุณภาพ โดยเฉพาะโอ่งมังกร ซึ่งมีประวัติการผลิตที่ยาวนาน และเป็นที่รู้จักกันดีทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศจนกลายเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดราชบุรีในปัจจุบัน
คบเพลิง คือ ความรุ่งโรจน์ ความเจริญก้าวหน้า
เปลวไฟ คือ การเริ่มต้นการแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขา
ภูเขา คือ ความอุดมสมบูรณ์ของภูเขาธรรมชาติ และแหล่งท่องเที่ยวของอำเภอสวนผึ้ง
ดอกไม้ คือ ความสวยงามของจังหวัดราชบุรี ที่มีคำขวัญ "คนสวยโพธาราม คนงามบ้านโป่ง"
โอ่ง คือ การประกอบอาชีพของชาวจังหวัดราชบุรี ทั้งเกษตรกรรม หัตถกรรม ที่แสดงถึงการเป็นนักต่อสู้มีความอดทน ไม่ย่อท้อ ไม่ยอมแพ้ต่ออุปสรรค เช่นเดียวกับนักกีฬาทุกคน ที่พร้อมใจกันสร้างพลังแห่งการแข่งขัน และรวมพลังเป็นเจ้าภาพการจัดการแข่งขันกีฬาฯ ในครั้งนี้
โอ่งและคบเพลิง คือ ความชื่นชมยินดีต้อนรับและความมีน้ำใจของนักกีฬาทุกคนที่เข้าร่วมการแข่งขันครั้งนี้
ความหมายของสี
สีน้ำเงิน คือ จุดรวมใจของชาวไทยภูเขา
สีแดง คือ พลังและความกล้าหาญ
สีเขียว คือ ความอุดมสมบูรณ์ของภูเขาธรรมชาติ
สีฟ้า คือ พลังของการสร้างสรรค์ในการแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขา
สีเหลือง คือ ความสนุกสนาน ร่าเริง มิตรภาพ และรอยยิ้ม
สีดำ คือ กลุ่มพลังนักกีฬาชาวไทยภูเขาทุกคน
สัญลักษณ์นำโชค-พญาผึ้ง |
สัญญลักษณ์นำโชค - พญาผึ้ง
พญาผึ้ง เป็นตัวแทนของความขยัน การอยู่ร่วมกัน และการสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ
ความหมาย ประชาชนชาวไทยภูเขาจังหวัดราชบุรี ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม เป็นนักต่อสู้ชีวิต อดทน รักความสามัคคีในกลุ่มชาวไทยภูเขา และไม่ย่อท้อ ไม่ยอมแพ้ต่อความยากลำบากที่จะเกิดขึ้นในชีวิตของเขา
ชนิดกีฬาที่ทำการแข่งขัน (สนามแข่งขัน) ได้แก่
- เซปัคตะกร้อ (สนามวิทยาลัยเทคนิคราชบุรี)
- ฟุตบอล 7 คน (สนามกีฬากลาง จ.ราชบุรี และสนามกีฬาในค่ายบุรฉัตร)
- เปตอง (สนามตลาดเมืองทอง)
- วอลเล่ย์บอล (โรงยิมเนเซี่ยมสนามกีฬากลาง จ.ราชบุรี)
- กรีฑา ประกอบด้วย ประเภทลู่-วิ่ง 100,200,400,800,1,500 เมตร ประเภทลาน-กระโดดสูง กระโดดไกล (สนามกีฬากลาง จ.ราชบุรี)
- กีฬาพื้นบ้าน ประกอบด้วย วิ่งแบกก๋วย วิ่งขาหยั่ง ยิงหน้าไม้ ขว้างลูกข่าง ชักเย่อ ขว้างสากมอง กลิ้งครก พุ่งหอกซัด ตักน้ำใส่กระบอก ขว้างมีดสั้น และเป่าลูกดอก (สนามกีฬา อ.สวนผึ้ง)
จังหวัดที่ส่งนักกีฬาเข้าร่วมการแข่งขัน รวม 20 จังหวัด ได้แก่
เพลงประจำการแข่งขัน เพลง "พญาผึ้งเกมส์" (ดูรายละเอียดเนื้อเพลง)
ที่มาข้อมูล
- กาญจนบุรี นักกีฬา ชาย 55 คน หญิง 41 คน เจ้าหน้าที่ 45 คน รวม 141 คน
- กำแพงเพชร (เท่ากับข้อ 1)
- เชียงราย (เท่ากับข้อ 1)
- เชียงใหม่ (เท่ากับข้อ 1)
- ตาก (เท่ากับข้อ 1)
- น่าน นักกีฬา ชาย 42 คน หญิง 30 คน เจ้าหน้าที่ 28 คน รวม 100 คน
- ประจวบคิรีขันธ์ นักกีฬา ชาย 41 คน หญิง 36 คน เจ้าหน้าที่ 38 คน รวม 115 คน
- พะเยา (เท่ากับข้อ 1)
- พิษณุโลก (เท่ากับข้อ 1)
- เพชรบุรี นักกีฬา ชาย 53 คน หญิง 41 คน เจ้าหน้าที่ 43 คน รวม 137 คน
- เพชรบูรณ์ (เท่ากับข้อ 1)
- แพร่ (เท่ากับข้อ 1)
- แม่ฮ่องสอน (เท่ากับข้อ 1)
- ลำปาง นักกีฬา ชาย 36 คน หญิง 35 คน เจ้าหน้าที่ 27 คน รวม 98 คน
- ลำพูน นักกีฬา ชาย 53 คน หญิง 41 คน เจ้าหน้าที่ 45 คน รวม 139 คน
- เลย (เท่ากับข้อ 1)
- สุโขทัย (เท่ากับข้อ 1)
- สุพรรณบุรี (เท่ากับข้อ 1)
- อุทัยธานี นักกีฬา ชาย 55 คน หญิง 41 คน เจ้าหน้าที่ 25 คน รวม 121 คน
- ราชบุรี (เท่ากับข้อ 1)
รวมทั้งสิ้น นักกีฬา ชาย 1,050 คน หญิง 798 คน เจ้าหน้าที่ 836 คน รวม 2,674 คน
สถานที่พักนักกีฬาและเจ้าหน้าที่
- โรงเรียนเทศบาล 1 (วัดสัตนาถปริวัตร) จังหวัดลำปาง, ลำพูน
- โรงเรียนเทศบาล 2 (วัดช่องลม) จังหวัดกาญจนบุรี, สุพรรณบุรี
- โรงเรียนเทศบาล 3 (วัดเทพอาวาส) จังหวัดกำแพงเพชร, ตาก
- โรงเรียนเทศบาล 4 (วัดมหาธาตุวรวิหาร) จังหวัดน่าน, อุทัยธานี
- โรงเรียนเทศบาล 5 (พหลโยธินรามิทรภักดี) จังหวัดเชียงราย, แม่ฮ่องสอน, เลย
- โรงเรียนวัดเขาวัง (แสง ช่วงสุวนิช) จังหวัดราชบุรี
- โรงเรียนอนุบาลราชบุรี จังหวัดแพร่
- โรงเรียนวัดดอนตะโก จังหวัดสุโขทัย
- โรงเรียนวัดดอนแจง จังหวัดพะเยา
- โรงเรียนวัดท้ายเมือง จังหวัดเชียงใหม่
- โรงเรียนวัดบางลี่ จังหวัดเพชรบุรี
- โรงเรียนวัดอรัญญิกาวาส จังหวัดประจวบคิรีขันธ์
- โรงเรียนวัดเจติยาราม จังหวัดพิษณุโลก
- วัดอัมรินทราราม (วัดตาล) จังหวัดเพชรบูรณ์
บุคคลที่ได้รับเกียรติเชิดชูในพิธีเปิดการแข่งขันฯ
เมื่อ 6 พ.ค.2554 ณ สนามกีฬากลาง จ.ราชบุรี เวลา 16:00-18:30 น.
(ดูรายละเอียดประวัติแต่ละท่าน)
(ดูรายละเอียดประวัติแต่ละท่าน)
- นักกีฬาวิ่งคบเพลิง นายกิตติคม เทิดสกุลธรรม (สุข),นายสามารถ พอชู และ น.ส.อมรรัตน์ จั๊บโปรย
- นักกีฬาอาวุโส นายนิคม ศรรีคำ
- ผู้แทนผู้ตัดสินกีฬา นายพรรณชัย เจนนพกาญจน์
*******************************************************
สำนักงานการท่องเที่ยวและกีฬาจังหวัดราชบุรี. (2554). สูจิบัตรการแข่งขันกีฬาชาวไทยภูเขาครั้งที่ 23 ประจำปี 2554. ไม่ทราบที่พิมพ์ (ดูภาพหนังสือ)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น